แทนแกรม
ความเป็นมาของแทนแกรมเป็นของเล่นเก่าแก่ของชาวจีน ชาวจีน เรียกว่า ch’ I ch’ iao t’ u (ฉีเฉียวตู ซึ่งหมายความว่า แบบแผนกลอันแยบยล) เริ่มแพร่หลายไปทางตะวันตกในศตวรรษที่ 19 ในยุโรปและอเมริการ รู้จัดกันในชื่อ Tangram (แทนแกรม)ประกอบด้วยรูปเรขาคณิต 7 ชิ้น ซึ่งตัดออกมาจากสี่เหลี่ยมจัตุรัสรูปหนึ่ง จะได้รูปสามเหลี่ยมมุมฉากเล็ก 2 ชิ้น รูปสามเหลี่ยม ขนาดกลาง 1 ชิ้น รูปสามเหลี่ยมมุมฉากขนาดใหญ่ 2 ชิ้น รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส 1 ชิ้น และรูปสี่เหลี่ยมด้านขนานอีก 1 ชิ้น ซึ่งรูปสามเหลี่ยมขนาดกลาง รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส และรูปสี่เหลี่ยมคางหมู ล้วนแล้วแต่มีพื้นที่เป็นสองเท่าของสี่เหลี่ยมมุมฉากเล็ก สามเหลี่ยมมุมฉากขนาดใหญ่ แต่ละชิ้นมีพื้นที่เป็น 4 เท่าของสี่เหลี่ยมมุมฉากเล็ก 1 ชิ้น และมุมที่เกิดขึ้นในชิ้นส่วนทั้ง 7 ชิ้น มีอยู่เพียง 3 แบบ คือ มุมฉาก มุม 45 องศา และ มุม 135 องศา
เจ็ดชิ้นของแทนแกรมสามารถเรียงต่อกันให้เป็นรูปคน สัตว์ สิ่งของเครื่องใช้และประกอบกันเป็นชุดที่ 1 ราวต่างๆ ได้มากมายตามแต่จินตนาการสร้างสรรค์ โดยใช้ กติกามาตรฐานสากลในการต่อแทนแกรม คือการเลื่อน หมุนและพลิกชิ้นส่วนทั้งเจ็ดนั้นให้เป็นภาพต่างๆ โดยอาจจะเป็น คน สัตว์หรือสิ่งของก็ได้ การต่อภาพแทนแกรมแบบมาตรฐานนั้น จะต้องไม่มีชิ้นส่วนใดเสริมขึ้นมาหรือขาดไปจากเจ็ดชิ้นส่วนมาตรฐานจึงจะสมบูรณ์ เช่น
ปัจจุบันชิ้นส่วนทั้งเจ้ดชิ้นนี้ สามารถนำมาสร้างเป็นรูปต่างๆ ได้มากกว่า 1,600 ภาพ
ต่อไปนี้จะเป็นส่วนหนึ่งของภาพที่ได้จากการเรียงต่อกันทั้งเจ็ดชิ้นจากแทนแกรม การทำให้เกิดภาพใช้วิธีเรียงต่อกันเท่านั้น จะไม่วางซ้อนหรือทับกันและต้องใช้ให้หมดทั้งเจ็ดชิ้น
ทั้ง Henry E.Dudeney และ Sam Loyd พบว่าแทนแกรมสามารถสร้างภาพลวงตาชวนพิศวงได้ไม่น้อยที่เดียว แต่ละภาพดังกล่าวได้เรียงต่อกันของทั้งชุดแทนแกรม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น